ดูข่าวไฟไหม้กิ่งแก้วแล้วย้อนดูตัว รู้จักโครงสร้างดับเพลิงกรุงเทพฯ

ดูข่าวไฟไหม้กิ่งแก้วแล้วย้อนดูตัว รู้จักโครงสร้างดับเพลิงกรุงเทพฯ
เผยแพร่: 6 ก.ค. 2564 07:04 ปรับปรุง: 6 ก.ค. 2564 07:04
แหล่งข้อมูล www.news1live.com

ถอดบทเรียนไฟไหม้กิ่งแก้ว ย้อนดูกรุงเทพฯ พบที่ผ่านมามีสถานีดับเพลิงมากกว่า 40 สถานี และมีหน่วยอาสาสมัครทั่วกรุงเทพฯ ทั้งเหนือ ใต้ และธนบุรี

รายงาน

กรณีเพลิงไหม้ถังเก็บสารเคมีระเบิดภายในบริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติก ในซอยกิ่งแก้ว 21 ถนนกิ่งแก้ว ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อเวลา 03.09 น. ของวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา แรงอัดทำให้บ้านเรือนและโรงงานที่อยู่โดยรอบรัศมี 500 เมตรได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก และเกิดเพลิงลุกไหม้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีสารสไตรีนโมโนเมอร์ และสารพอลิสไตรีน ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตรวมกันถึง 20,000 ลิตร

ปฏิบัติการระงับเหตุครั้งนี้มีหลายหน่วยงานที่เข้าร่วม นอกจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และอาสาสมัครกู้ภัยมูลนิธิต่างๆ แล้ว หนึ่งในนั้นคือ สํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ และน้ำยาโฟมเข้าช่วยเหลือ รวมทั้งอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทยเข้ามาร่วมปฏิบัติการ แม้จะอยู่นอกพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ตาม

อาจมีคนสงสัยว่า โครงสร้างการทำงานดับเพลิงในกรุงเทพมหานครเป็นอย่างไร?

 

ปัจจุบันงานดับเพลิงในกรุงเทพมหานครขึ้นตรงต่อสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็นกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 1-6 ได้แก่

กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 1 (กปก.1) ครอบคลุมพื้นที่กลุ่มกรุงเทพกลาง ประกอบด้วย สถานีดับเพลิงและกู้ภัยพญาไท, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยดุสิต, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยภูเขาทอง, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยสามเสน, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยสวนมะลิ, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยห้วยขวาง, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยสุทธิสาร, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางกะปิ และสถานีดับเพลิงและกู้ภัยพหลโยธิน รวม 9 สถานี

กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 2 (กปก.2) ครอบคลุมพื้นที่กลุ่มกรุงเทพใต้ ประกอบด้วย สถานีดับเพลิงและกู้ภัยพระโขนง (มีสถานีดับเพลิงและกู้ภัยย่อย 2 สถานี ได้แก่ สุขุมวิท และบางนา), สถานีดับเพลิงและกู้ภัยทุ่งมหาเมฆ, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยถนนจันทน์, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยคลองเตย, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบรรทัดทอง, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบ่อนไก่, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยยานนาวา, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางรัก รวม 8 สถานี และ 2 สถานีย่อย

กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 3 (กปก.3) ครอบคลุมพื้นที่กลุ่มกรุงเทพเหนือ ประกอบด้วย สถานีดับเพลิงและกู้ภัยลาดยาว, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยดอนเมือง, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางโพ, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางซ่อน, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางเขน (มีสถานีดับเพลิงและกู้ภัยย่อยสายไหม), สถานีดับเพลิงและกู้ภัยลาดพร้าว รวม 6 สถานี และ 1 สถานีย่อย

กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 4 (กปก.4) ครอบคลุมพื้นที่กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ประกอบด้วย สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางชัน, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยลาดกระบัง (มีสถานีดับเพลิงและกู้ภัยย่อยหนองจอก), สถานีดับเพลิงและกู้ภัยหัวหมาก และสถานีดับเพลิงและกู้ภัยประเวศ, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยเฉลิมพระเกียรติ และสถานีดับเพลิงและกู้ภัยร่มเกล้า รวม 6 สถานี และ 1 สถานีย่อย

กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 5 (กปก.5) ครอบคลุมพื้นที่กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย สถานีดับเพลิงและกู้ภัยดาวคะนอง, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยจอมทอง, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยปากคลองสาน, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยตลาดพลู, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยธนบุรี, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบวรมงคล, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางขุนนนท์, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางอ้อ, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยตลิ่งชัน (มีสถานีดับเพลิงและกู้ภัยย่อยทวีวัฒนา) รวม 9 สถานี และ 1 สถานีย่อย

กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 6 (กปก.6) ครอบคลุมพื้นที่กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางแค, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางขุนเทียน, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยทุ่งครุ และสถานีดับเพลิงและกู้ภัยหนองแขม รวม 4 สถานี ซึ่งกรุงเทพมหานครกำลังก่อสร้างเพิ่มอีก 1 สถานี ได้แก่ สถานีดับเพลิงและกู้ภัยราษฎร์บูรณะ

ในการแจ้งเหตุ เมื่อประชาชนโทรศัพท์ไปที่หมายเลข 199 จะมีศูนย์วิทยุพระราม 199 ทำหน้าที่รับสาย รวมทั้งกรณีประชาชนโทรศัพท์ไปที่หมายเลข 191 จะมีศูนย์วิทยุผ่านฟ้า 191 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติรับสาย ก่อนจะประสานงานไปยังสถานีดับเพลิงในพื้นที่ต่างๆ ตามพื้นที่กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย และส่งวิทยุสื่อสารไปยังหน่วยอาสาสมัครที่อยู่ใกล้จุดเกิดเหตุที่สุดให้ทำการตรวจสอบ ก่อนจะร่วมกันเข้าระงับเหตุ

นอกจากสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร ที่ทำหน้าที่หลักในการดับเพลิงแล้ว ยังมีอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี 2518 ทำหน้าที่ช่วยเหลือหน่วยบรรเทาสาธารณภัยต่างๆ ปัจจุบันมีอยู่ 144 หน่วย ประกอบด้วย เขตกรุงเทพเหนือ 39 หน่วย เขตกรุงเทพใต้ 45 หน่วย เขตธนบุรี 57 หน่วย จังหวัดสระบุรี 1 หน่วย จังหวัดลพบุรี 1 หน่วย และจังหวัดชลบุรี 1 หน่วย รวมทั้งอาสาสมัครมูลนิธิต่างๆ เช่น มูลนิธิร่วมกตัญญู มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มูลนิธิกู้ภัยร่มไทร

หนึ่งในนั้นคือ หน่วย ธน 28-00 (หน่วยกู้ภัยสมเด็จเจ้าพระยา) ที่มีนายกรสิทธิ์ ลาวพันธ์ หรือพอส อายุ 18 ปี รหัส ธน 28-78 ฐานจุดย่อยเทคโน ถูกไฟคลอกทั้งตัว เนื่องจากเข้าไปช่วยฉีดน้ำดับเพลิง แต่สารเคมีรั่วและพุ่งออกมาตามประกายไฟ นายกรสิทธิ์และเพื่อนอาสาฯ พยายามวิ่งหนี แต่เสียหลักล้มอยู่ตรงระหว่างถังเคมีทั้ง 2 ถัง เป็นเหตุให้ถูกไฟคลอกเสียชีวิต

 

ปัจจุบันงานดับเพลิงในกรุงเทพมหานครขึ้นตรงต่อสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็นกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 1-6 ได้แก่

กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 1 (กปก.1) ครอบคลุมพื้นที่กลุ่มกรุงเทพกลาง ประกอบด้วย สถานีดับเพลิงและกู้ภัยพญาไท, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยดุสิต, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยภูเขาทอง, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยสามเสน, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยสวนมะลิ, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยห้วยขวาง, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยสุทธิสาร, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางกะปิ และสถานีดับเพลิงและกู้ภัยพหลโยธิน รวม 9 สถานี

กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 2 (กปก.2) ครอบคลุมพื้นที่กลุ่มกรุงเทพใต้ ประกอบด้วย สถานีดับเพลิงและกู้ภัยพระโขนง (มีสถานีดับเพลิงและกู้ภัยย่อย 2 สถานี ได้แก่ สุขุมวิท และบางนา), สถานีดับเพลิงและกู้ภัยทุ่งมหาเมฆ, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยถนนจันทน์, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยคลองเตย, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบรรทัดทอง, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบ่อนไก่, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยยานนาวา, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางรัก รวม 8 สถานี และ 2 สถานีย่อย

กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 3 (กปก.3) ครอบคลุมพื้นที่กลุ่มกรุงเทพเหนือ ประกอบด้วย สถานีดับเพลิงและกู้ภัยลาดยาว, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยดอนเมือง, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางโพ, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางซ่อน, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางเขน (มีสถานีดับเพลิงและกู้ภัยย่อยสายไหม), สถานีดับเพลิงและกู้ภัยลาดพร้าว รวม 6 สถานี และ 1 สถานีย่อย

กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 4 (กปก.4) ครอบคลุมพื้นที่กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ประกอบด้วย สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางชัน, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยลาดกระบัง (มีสถานีดับเพลิงและกู้ภัยย่อยหนองจอก), สถานีดับเพลิงและกู้ภัยหัวหมาก และสถานีดับเพลิงและกู้ภัยประเวศ, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยเฉลิมพระเกียรติ และสถานีดับเพลิงและกู้ภัยร่มเกล้า รวม 6 สถานี และ 1 สถานีย่อย

กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 5 (กปก.5) ครอบคลุมพื้นที่กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย สถานีดับเพลิงและกู้ภัยดาวคะนอง, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยจอมทอง, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยปากคลองสาน, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยตลาดพลู, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยธนบุรี, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบวรมงคล, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางขุนนนท์, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางอ้อ, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยตลิ่งชัน (มีสถานีดับเพลิงและกู้ภัยย่อยทวีวัฒนา) รวม 9 สถานี และ 1 สถานีย่อย

กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 6 (กปก.6) ครอบคลุมพื้นที่กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางแค, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางขุนเทียน, สถานีดับเพลิงและกู้ภัยทุ่งครุ และสถานีดับเพลิงและกู้ภัยหนองแขม รวม 4 สถานี ซึ่งกรุงเทพมหานครกำลังก่อสร้างเพิ่มอีก 1 สถานี ได้แก่ สถานีดับเพลิงและกู้ภัยราษฎร์บูรณะ

ในการแจ้งเหตุ เมื่อประชาชนโทรศัพท์ไปที่หมายเลข 199 จะมีศูนย์วิทยุพระราม 199 ทำหน้าที่รับสาย รวมทั้งกรณีประชาชนโทรศัพท์ไปที่หมายเลข 191 จะมีศูนย์วิทยุผ่านฟ้า 191 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติรับสาย ก่อนจะประสานงานไปยังสถานีดับเพลิงในพื้นที่ต่างๆ ตามพื้นที่กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย และส่งวิทยุสื่อสารไปยังหน่วยอาสาสมัครที่อยู่ใกล้จุดเกิดเหตุที่สุดให้ทำการตรวจสอบ ก่อนจะร่วมกันเข้าระงับเหตุ

นอกจากสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร ที่ทำหน้าที่หลักในการดับเพลิงแล้ว ยังมีอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี 2518 ทำหน้าที่ช่วยเหลือหน่วยบรรเทาสาธารณภัยต่างๆ ปัจจุบันมีอยู่ 144 หน่วย ประกอบด้วย เขตกรุงเทพเหนือ 39 หน่วย เขตกรุงเทพใต้ 45 หน่วย เขตธนบุรี 57 หน่วย จังหวัดสระบุรี 1 หน่วย จังหวัดลพบุรี 1 หน่วย และจังหวัดชลบุรี 1 หน่วย รวมทั้งอาสาสมัครมูลนิธิต่างๆ เช่น มูลนิธิร่วมกตัญญู มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มูลนิธิกู้ภัยร่มไทร


หนึ่งในนั้นคือ หน่วย ธน 28-00 (หน่วยกู้ภัยสมเด็จเจ้าพระยา) ที่มีนายกรสิทธิ์ ลาวพันธ์ หรือพอส อายุ 18 ปี รหัส ธน 28-78 ฐานจุดย่อยเทคโน ถูกไฟคลอกทั้งตัว เนื่องจากเข้าไปช่วยฉีดน้ำดับเพลิง แต่สารเคมีรั่วและพุ่งออกมาตามประกายไฟ นายกรสิทธิ์และเพื่อนอาสาฯ พยายามวิ่งหนี แต่เสียหลักล้มอยู่ตรงระหว่างถังเคมีทั้ง 2 ถัง เป็นเหตุให้ถูกไฟคลอกเสียชีวิต

Visitors: 993,499