วัฒนธรรมความปลอดภัย

วัฒนธรรมด้านความปลอดภัย (Safety Culture)

บทความจาก คุณ ตวงพร เอ็งวงษ์ตระกูล

วัฒนธรรมด้านความปลอดภัย (Safety Culture) หมายถึง พฤติกรรมของคนในสังคม ที่แสดงถึงลักษณะและทัศนคติ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัย โดยลักษณะของวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย (Characteristic of Safety Culture) แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังรูป

1.ระดับรูปธรรม (Artifact level) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำของคน สามารถมองเห็นได้จากการสังเกต เช่น สถาปัตยกรรม การแต่งตัว ฯลฯ ซึ่งประกอบด้วย Characteristic of Safety Culture ดังนี้

           ผู้บริหารสูงสุดมีส่วนร่วมในเรื่องความปลอดภัย (Top management commitment to safety)

           มีผู้นำอย่างชัดเจน (Visible leadership)

           ใช้ระบบ 5 ส (Good housekeeping)

           มีกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย (Strategic business importance of safety)

           มีกระบวนการผลิตที่ไม่ขัดแย้งกับความปลอดภัย (Absence of safety versus production conflict)

          มีความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างหน่วยงานควบคุมกับหน่วยงานอื่นจากภายนอก (Relationship to regulator and other external groups)

           มีวิสัยทัศน์ยาวไกลและมีแผนระยะยาว (Proactive and long-term perspective)

           มีการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Management of change)

           มีระบบเอกสารและคู่มือการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ(Quality of documentation and procedures)

           มีความสอดคล้องกันระหว่างกฎระเบียบกับวิธีการปฏิบัติงาน (Compliance with regulations and procedures)

           ผู้ปฏิบัติงานมีความสามารถและมีจำนวนที่เพียงพอ (Sufficient and competent staff)

           มีการจัดการความรู้ของบุคลากร เทคโนโลยี และองค์กร (Man, technology and organization knowledge)

           มีการกำหนดบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน (Clear roles and responsibilities)

           มีการจูงใจและสร้างความพึงพอใจในงาน (Motivation and job satisfaction)

           พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม (Involvement of all employee)

           มีบรรยากาศในการทำงานที่ดี ทั้งด้านเวลา ความกดดัน ปริมาณงาน และความเครียด(Good working conditions with regard to time pressure workload and stress)

          มีการวัดระดับความสามารถด้านความปลอดภัย (Measurement of safety performance)

          มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม (Proper resource allocation)

          มีความร่วมมือกันและมีการทำงานเป็นทีม (Collaboration and teamwork)

          มีมุมมองในการตัดสินใจที่เปิดกว้าง (Decision – making breadth of perspective)

           สามารถรับมือกับความขัดแย้ง (Handing of conflict)

           มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน (Relationship between managers and employees)

          ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน (Awareness of work process)

       มีการพิจารณาค่าตอบแทนและหน้าที่ความรับผิดชอบตามความสามารถ (Performance accountability and reward)

2.ระดับหลักการสนับสนุน (Espoused value level) หรือค่านิยมของสังคม หรือองค์กร เช่น ยุทธวิธี , กำหนดจุดมุ่งหมาย ฯลฯ ซึ่งประกอบด้วย Characteristic of Safety Culture ดังนี้

      ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเป็นอันดับต้น (High priority to safety)

      มีการสื่อสารที่ดีและรับฟังความคิดเห็น (Openness and communications)

      เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Organizational learning)

3.ระดับสามัญสำนึก (Basic assumption level) หรือความคิดพื้นฐาน ประกอบด้วย Characteristic of Safety Culture ดังนี้

             ให้ความสำคัญกับเวลา (Time focus)

           มุมมองในเรื่องความผิดพลาด (View of mistakes)

           บทบาทของผู้บริหาร (Role of managers)

           ทัศนคติของบุคลากร (View of People)

การประเมินระดับวัฒนธรรมความปลอดภัย (Safety Culture) ควรทำการประเมินตามมิติของวัฒนธรรมความปลอดภัย ที่ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ได้กำหนดให้เป็นองค์ประกอบของ วัฒนธรรมความปลอดภัยขององค์กร (Safety Culture) ซึ่งประกอบด้วยมิติต่างๆ 5 มิติ (5 IAEA Safety Culture Dimensions) ดังนี้

 

          Accountability for safety is clear หมายถึง ความชัดเจนในหน้าที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยของบุคลากร

         Safety is a clearly recognized value หมายถึง มีการตระหนักถึงคุณประโยชน์ของความปลอดภัยอย่างแท้จริง

         Safety is integrated into all activities หมายถึง การบูรณาการความปลอดภัยเข้ากับทุกกิจกรรมการทำงาน

         Safety leadership is clear หมายถึง การมีผู้นำในเรื่องของความปลอดภัยที่ชัดเจน

          Safety is learning driven หมายถึง การจัดให้ความปลอดภัยเป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ขององค์กร

 

วิธีการประเมินระดับวัฒนธรรมความปลอดภัย

ความยากในการวัดระดับ Safety Culture คือ ไม่มีตัวชี้วัดแบบง่ายๆ ที่ใช้ในการวัด , หลายๆ ส่วนไม่ได้มาจากการสังเกตโดยตรง , หลายๆ ส่วนได้เพียงแค่อธิบายแต่ไม่สามารถวัดได้ ( เช่น ความคิด ความรู้สึก ), และความมีอคติของผู้ที่ให้ความเห็น ดังนั้นจึงควรใช้การ ผสมผสานหลายๆ วิธีร่วมกัน ดังนี้

   การสัมภาษณ์ / การพูดคุย (Interviews)

   การทำแบบสอบถาม (Questionnaires)

   การเฝ้าสังเกต (Observations)

  ประเมินจากเอกสาร (Review of documentation)

การพัฒนาวัฒนธรรม ความปลอดภัย (Safety Culture Develop ment ) ขององค์กรใดๆ มีลำดับขั้น ตามที่ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) กำหนดแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ

 

ระดับที่ 1ความปลอดภัย ต้องอยู่บนพื้นฐานของกฎระเบียบและการควบคุม (Safety is based on rules and regulations)

 

ระดับที่ 2ความปลอดภัย ถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายองค์กร (Safety is considered an organizational goal)

 

ระดับที่ 3ความปลอดภัยขององค์กร มีการพัฒนาปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา (Safety can always be improved)

 

 

Visitors: 993,506