สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติภัยในโรงงาน

สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติภัย
สาเหตุที่ทำเกิดอุบัติภัยในโรงงาน

ในการทำงานชนิดใดก็ตาม หลาย ๆ ครั้งมีเหตุเกิดขึ้นโดยเหตุการณ์นั้นไม่ได้ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น ทรัพย์สินอาจไม่เสียหายแต่มีแนวโน้มว่าจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น วางบันไดพาดไว้และบันไดลื่นล้มไปเองโดยไม่มีใครบาดเจ็บและเสียหาย หรือชิ้นงานตกจากโต๊ะแต่รับไว้ได้ทัน หรือเดินสะดุดสายไฟที่พื้นและเกิดอาการเซถลาไป แต่ไม่ได้รับบาดเจ็บใด ๆ

1 สาเหตุจากบุคคล
คนอาจเป็นสาเหตุทําให้เกิดอุบัติเหตุ/อุบัติภัยในลักษณะต่างๆ ดังนี้
1.1 เกิดจากคนมีสภาพร่างกายและจิตใจไม่อยู่ในภาวะปกติ ผู้ที่ร่างกายทรุด โทรม เช่น อ่อนเพลีย เหน็ดเหนื่อย เจ็บป่วย หรือผู้ที่มึนเมาจากการดื่มสุราหรือยากระตุ้นประสาท เป็นต้น จะมี ผลทําให้ควบคุมสติของตนเองได้ไม่ดี จะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ/อุบัติภัยได้ง่าย
1.2 เกิดจากคนขาดความรู้และความชํานาญหรือประสบการณ์ ผู้ที่ใช้เครื่อง จักรเครื่องยนต์ในขณะทํางานนั้น ถ้าหากขาดความรู้ความชํานาญ หรือมีประสบการณ์ไม่เพียงพอจะเป็นเหตุให้กิดอุบัติเหตุ/อุบัติภัยได้ง่าย
1.3 เกิดจากคนมีความประมาท คนส่วนใหญ่มีนิสัยรักความสะดวกสบาย หาก อันตราย ยังไม่เกิดขึ้นมักจะคิดว่า "ไม่เป็นไร" และบางคนมีนิสัยชอบความเสี่ยง เช่น ชอบเผอเรอ สะเพร่า ขาดความรอบคอบ เหล่านี้เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ/อุบัติภัยได้
1.4 เกิดจากคนไม่ปฏิบัติตามคําเตือน กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คนบางคน ไม่เห็นความสําคัญของกฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือคําเตือนต่างๆ มักจะเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ/ อุบัติภัยได้
1.5 เกิดจากคนมีความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มักเนื่องมาจากการคาดคะเนผิดโดยไม่รู้ว่าอะไรเกิดขึ้น จะเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ/อุบัติภัยได้
1.6 เกิดจากความเชื่อในทางที่ผิด บางคนเชื่อว่าอุบัติเหตุ/อุบัติภัย เกิดขึ้นเพราะโชคชะตาหรือเคราะห์กรรมไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ทําให้ขาดความระมัดระวังจนเป็นเหตุให้เกิด
อุบัติเหตุ/อุบัติภัยได้

2 สาเหตุจากสภาพเครื่งจักรและอุปกรณ์ในการทำงาน
1. การใช้เครื่องจักรที่ไม่มีระบบป้องกันอันตราย เช่น การใช่เครื่องลับมีดที่ไม่มีการ์ดหรือฝาครอบป้องกันเศษโลหะ
2. การใช้เครื่องมือผิดประเภท เช่น ใช้คีมช่างยนต์ที่มีด้ามเป็นเหล็กในงานไฟฟ้า
3. การใช้เครื่องมือที่ชำรุด เช่น สภาพด้ามค้อนที่ไม่แน่น

3 สาเหตุจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
1. แสงสว่าง แสงสว่างมากเกินไป อาทิ เช่น จากเตาหลอม ไฟเชื่อม ทำให้ตาฝ้า ตามัว และอาจบอดไดเสียงดัง คนทำงานโดยทั่วไปประมาณวันละ 8 ชั่วโมง จะรับระดับเสียงได้
ไม่เกิน 90 เดซิเบล ถ้าดังเกินไปจะทำให้หูตึง และอาจหูหนวกได้
2. ความร้อน ถ้าไม่มีการป้องกันความร้อนที่ดีแล้วอาจได้รับอันตรายจากความร้อน เช่น ทำให้อ่อนเพลียไม่มีแรง หน้ามืดบ่อย ๆ และอาจเป็นลมสลบได้
3. ความกดดัน อากาศในบริเวณปฏิบัติงานที่มีความกดดันสูงกว่าปกติ จะทำให้เกิดอาการปวดหู อาจทำให้เยื่อหูฉีกขาด และทำให้หูหนวกในที่สุด
4. ความสั่นสะเทือน อาจทำให้ เนื้อเยื่ออ่อนของมือ เกิดอาการอักเสบลุกลามไปถึงกระดูกข้อมือ หรือทำให้กล้ามเนื้อมือเป็นอัมพาตหรือทำให้อวัย***บางส่วนลีบได้
5. สารเคมี ฝุ่น ไอ ควัน ละอองแก๊สของสารพิษสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทางคือ โดยการหายใจ สารเคมีเมื่อเข้าไปถึงปอดจะถูกดูดซึมอย่างเร็วทำให้เกิดโรคปอดได้โดยการดูดซึมทางผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเป็นแผล เกิดอาการเป็นพิษต่อระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกายโดยการกินเข้าไป5.1 สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติภัยในโรงงาน

เข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทางคือ โดยการหายใจ สารเคมีเมื่อเข้าไปถึงปอดจะถูกดูดซึมอย่างเร็วทำให้เกิดโรคปอดได้โดยการดูดซึมทางผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเป็นแผล เกิดอาการเป็นพิษต่อระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกายโดยการกินเข้าไป

Visitors: 995,169