ทักษะการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี

ทักษะการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี

        ความหมายของภาวะผู้นำ

        ภาวะผู้นำ (Leadership) หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง  ความสามารถในการนำ (The American Heritage Dictionary, 1985 : 719) ซึ่งเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งสำหรับความสำเร็จของผู้นำภาวะผู้นำได้รับความสนใจและศึกษามานานแล้ว เพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้ผู้นำ มีความสามารถในการนำหรือเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ

        การศึกษาเรื่องของภาวะผู้นำนั้น จะศึกษาตั้งแต่คุณลักษณะ (Traits) ของผู้นำ  อำนาจ (Power) ของผู้นำ พฤติกรรม (Behavior) ของผู้นำแบบต่างๆ  

        ในปัจจุบันได้มีให้ความหมายของภาวะผู้นำไว้หลากหลายและแตกต่างกันดังนี้ 

        - ภาวะผู้นำ คือ ความคิดริเริ่มและธำรงไว้ซึ่งโครงสร้างของความคาดหวังและ ความสัมพันธ์ระหว่างกันของสมาชิกของกลุ่ม (Stogdill,1974 : 411) 

        - ภาวะผู้นำ คือ ความสามารถที่จะชี้แนะ สั่งการ หรืออำนวยการ หรือมีอิทธิพลต่อ พฤติกรรมของผู้อื่นเพื่อให้มุ่งไปสู่จุดหมายที่กำหนดไว้ (McFarland, 1979 : 303)  

        - ภาวะผู้นำ คือ ศิลปะในการชี้แนะลูกน้อง หรือผู้ร่วมงานให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ กระตือรือร้น และเต็มใจ (Schwartz, 1980 : 491)  

        - ภาวะผู้นำ คือ กระบวนการที่บุคคลใช้อิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้บรรลุความต้องการของ กลุ่ม หรือจุดมุ่งหมายขององค์การ (Mitchell and Larson, Jr., 1987 : 435)  

        - ภาวะผู้นำ เป็นเรื่องของศิลปะของการใช้อิทธิพล หรือกระบวนการใช้อิทธิพลต่อบุคคล อื่นเพื่อให้เขามีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานจนประสบความสำเร็จ ตามจุดมุ่งหมายของกลุ่ม (Kootz and Weihrich, 1988 : 437)

        - ภาวะผู้นำ เป็นความสามารถในการใช้อิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Robbins, 1989 : 437) 

        - ภาวะผู้นำ เป็นกระบวนการของการชี้แนะ และอิทธิพลต่อกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกของกลุ่ม (Stoner and Freeman, 1989 : 459) 

        - ภาวะผู้นำ เป็นกระบวนการที่บุคคลหนึ่ง(ผู้นำ) ใช้อิทธิพลและอำนาจของตนกระตุ้น ชี้นำให้บุคคลอื่น (ผู้ตาม) มีความกระตือรือร้น เต็มใจทำในสิ่งที่เขาต้องการ โดยมีเป้าหมายขององค์การเป็นจุดหมายปลายทาง (พยอม วงศ์สารศรี, 2534 : 196)

        

        กวี วงศ์พุฒ(2535 : 14-15) ได้สรุปแนวคิดเกี่ยวกับผู้น าไว้ 5 ประการ คือ 

        1. ผู้นำ หมายถึง ผู้ซึ่งเป็นศูนย์กลางหรือจุดรวมของกิจกรรมภายในกลุ่มเปรียบเสมือนแกนของกลุ่ม เป็นผู้มีโอกาสติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นมากกว่าทุกคนในกลุ่ม มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของกลุ่มสูง 

        2. ผู้นำ หมายถึง บุคคลซึ่งนำกลุ่มหรือพากลุ่มไปสู่วัตถุประสงค์หรือจุดหมายที่วางไว้ แม้แต่เพียงชี้แนะให้กลุ่มไปสู่จุดหมายปลายทางก็ถือว่าเป็นผู้นำ ทั้งนี้รวมถึงผู้นำที่นำกลุ่มออกนอกลู่นอกทางด้วย 

        3. ผู้นำ หมายถึง บุคคลที่สมาชิกส่วนใหญ่คัดเลือกหรือยกให้เขาเป็นผู้นำของกลุ่ม ซึ่งเป็นไปโดยอาศัยลักษณะทางสังคม มิติของบุคคลเป็นฐานและสามารถแสดงพฤติกรรมของผู้นำได้ 

        4. ผู้นำ หมายถึง บุคคลซื่งมีคุณสมบัติเฉพาะอย่าง คือสามารถสอดแทรกอิทธิพลบาง ประการอันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มได้มากที่สุด 

        5. ผู้นำ หมายถึง บุคคลซึ่งสามารถนำกลุ่มไปในทางที่ต้องการ เป็นบุคคลที่มีส่วนร่วม และเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการแสดงบทบาท หรือพฤติกรรมการเป็นผู้นำ

 

        จากความหมายดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าแนวคิดส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนและสมาชิกของกลุ่มมีความสัมพันธ์ภายในต่อกันอย่างสม่ำเสมอ ในการนี้จะมีสมาชิกคนใดคนหนึ่ง หรือมากกว่าถูกกำหนดหรือยอมรับให้เป็นผู้นำ (Leader) เนื่องจากจะมีความแตกต่างในด้านต่าง ๆ จากบุคคลอื่น ๆ ของกลุ่ม ซึ่งถือว่าเป็นผู้ตาม (Followers) หรือผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกน้อง (Subordinates) หรือผู้ปฏิบัติ 

        สำหรับความหมายของภาวะผู้นำเกือบทั้งหมดจะเกี่ยวข้องกับการใช้อิทธิพลซึ่งส่วนมากจะเป็นผู้นำ (Leader) พยายามจะมีอิทธิพลต่อผู้ตาม(Followers) ในกลุ่มหรือบุคคลอื่น ๆ เพื่อให้มีทัศนคติ พฤติกรรมและอื่น ๆ ไปในทิศทางที่ทำให้จุดมุ่งหมายของกลุ่มหรือองค์กรประสบความสำเร็จ   

        ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ภาวะผู้นำ (Leadership) คือกระบวนการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือมากกว่าพยายามใช้อิทธิพลของตนหรือกลุ่มตน กระตุ้น ชี้นำผลักดัน ให้บุคคลอื่นหรือกลุ่มบุคคลอื่นมีความเต็มใจและกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการโดยมีความสำเร็จของกลุ่มหรือองค์กรเป็นเป้าหมาย

    

        ประเภทของผู้นำ

 

        จากการจำแนกประเภทของผู้นำ อาจจำแนกโดยอธิบายให้เห็นถึงการเกิดผู้นำว่าเกิดขึ้นได้ 2 ประเภท คือ 

        1. จำแนกโดยสถานการณ์และโดยตำแหน่ง 

        2. จำแนกโดยลักษณะในการบริหารซึ่งมี 3 ประเภทซึ่งจะเน้นที่พฤติกรรมของผู้นำเป็นสำคัญว่าผู้นำมีพฤติกรรมเช่นไรดังนี้ 

            - ผู้นำแบบใช้พระเดช หมายถึงผู้นำที่ยึดเอากฎหมาย ระเบียบแบบแผนเป็นที่ตั้ง 

            - ผู้นำแบบใช้พระคุณ หมายถึงผู้นำที่มีอำนาจและศิลปะในการที่จะสามารถจูงใจให้ บุคคลทั้งหลายทั้งปวงปฏิบัติตามที่ตนประสงค์ 

            - ผู้นำแบบสัญลักษณ์ หมายถึงผู้นำที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์ของผู้อยู่ในฐานะตำแหน่ง ที่ควรแก่การเคารพนับถือ 

        ถ้าพิจารณาผู้นำแบบใช้พระเดชจะพบว่า ตรงกับประเภทของภาวะผู้นำคือ ผู้นำประเภทนิเสธ ส่วนผู้นำโดยตำแหน่งก็มักจะมีพฤติกรรมแบบ ผู้นำแบบใช้พระเดช เป็นส่วนมาก คือเมื่อได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ก็มักยึดเอากฎหมายและระเบียบแบบแผนเป็นที่ตั้งแต่ก็มีบ้างที่ ใช้พระคุณส่วนผู้นำแบบใช้พระคุณนั้นตรงกับ ผู้นำประเภทปฏิฐาน และผู้นำโดยสถานการณ์ เพราะเป็นผู้นำที่ทำให้ผู้ร่วมงานเลื่อมใสศรัทธาและเห็นอกเห็นใจผู้ร่วมงานเหมือน ๆ กัน ทั้งยังเป็นผู้นำที่อาจจะไม่ได้รับการแต่งตั้งตามกฏหมายอีกด้วย    

 

        ลักษณะของภาวะผู้นำ

        มิทเชล และลาร์สัน จูเนียร์ (Michell and Larson, Jr., 1987 : 435-436) ได้ชี้ให้เห็นองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ ในการพิจารณาว่าผู้นำใดมีภาวะผู้นำหรือไม่ ได้แก่  

        1. ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการ  

        2. มีระดับความถูกต้องของการใช้อิทธิพล  

        3. มีความสำเร็จของจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

    1. ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการของการใช้อิทธิพล ผู้นำจะพยายามมีอิทธิพลเหนือผู้ตาม เพื่อให้มีพฤติกรรมการปฏิบัติงานตามต้องการ โดยมีจุดมุ่งหมายขององค์กรเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่ เรื่องของบุคคลที่จะพึงมีภาวะผู้นำได้โดยที่ไม่ได้มีกระบวนการทำใด ๆ เป็นกระบวนการ (Process) ให้เกิดอิทธิพลต่อผู้อื่น ดังนั้นผู้นำทางการแต่งตั้ง เช่นผู้อำนวยการ ผู้บัญชาการ อาจจะมีภาวะผู้นำ หรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่ว่ามีลักษณะทั้ง 3 ประการหรือเปล่า ในทางตรงข้ามผู้ที่แสดงภาวะผู้นำ อาจจะไม่เป็นผู้ที่เป็นแบบทางการ แต่มีองค์ประกอบ 3 ประการนั้น  

    2. ภาวะผู้นำนอกจากจะเป็นกระบวนการแล้ว ภาวะผู้นำจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อผู้ตามยอมให้ใช้ อิทธิพลต่อตัวเขา ซึ่งโดยทั่วไปก็ต้องพิจารณาถึงระดับความถูกต้องของอิทธิพลที่ใช้ด้วยว่า ไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจเข้าขู่เข็ญ หรือบีบบังคับให้ทำตาม เพราะถ้าเป็นการเช่นนั้นก็ไม่ถือว่ามีภาวะผู้นำได้  

    3. ภาวะผู้น าจะถูกอ้างถึงเมื่อจุดมุ่งหมายของกลุ่มหรือองค์กรประสบความสำเร็จ ดังนั้น หากผู้นำไม่สามารถนำกลุ่มไปสู่ความสำเร็จดังกล่าว ก็ย่อมหมายถึงว่าผู้นำไม่ได้แสดงภาวะผู้นำหรือไม่มีความสามารถในการเป็นผู้นำนั่นเอง

 

        คุณสมบัติของผู้นำ

    

        คุณสมบัติของผู้นำควรประกอบด้วย 

        ครองตน 

        - มีความประพฤติปฏิบัติตนดี 

        - มีความรู้ ความสามารถเข้าใจเหตุการณ์ 

        - มีความซื่อสัตย์สุจริต    

        - มีความอดทนอดกลั้น 

        - มีเหตุมีผล 

        - มีการควบคุมอารมณ์ที่ดี (EQ=Emotional Qmotient)  

        ครองคน 

        - มีมนุษยสัมพันธ์ดี 

        - มีความเสียสละ 

        - มีความจริงใจ 

        - มีความสามารถในการจูงใจ 

        - มีความปรารถนาส่งเสริมให้ลูกน้องก้าวหน้า

        ครองงาน 

        - มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 

        - มีความรับผิดชอบ 

        - มีการตรงต่อเวลา 

        - มีความมุ่งมั่นในการสร้างผลงาน 

        - มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ 

        - มีความกล้าหาญ  

 

        รูปแบบของผู้นำ

        การศึกษาเกี่ยวกับผู้น ามีหลายลักษณะ  จากการศึกษาของวิลเลี่ยม เจ เรดดิน(William J. Reddin) เรดดินอธิบายถึงความสัมพันธ์กันของพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาและสถานการณ์ โดยแสดงให้เห็นถึงรูปแบบผู้น าที่มีประสิทธิผลมากกว่า และผู้น าที่มีประสิทธิผลน้อยกว่า ดังนี้  

        รูปแบบผู้นำที่มีประสิทธิผลสูง 

    1. นักบริหาร (Executive) ผู้นำแบบนี้จะมีความสนใจเป็นอย่างมากทั้งในเรื่องของงาน และสัมพันธภาพระหว่างบุคคล มีความสามารถในการจูงใจคนกำหนดมาตรฐานใน งานสูง เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และการทำงานเป็นทีม

    2. นักพัฒนา (Develop) ผู้นำแบบนี้จะให้ความสำคัญกับเรื่องสัมพันธภาพระหว่างบุคคลมากกว่าให้ความสนใจกับงานจะให้ความไว้วางใจผู้ร่วมงาน สร้างแรงจูงใจและให้ กำลังใจเพื่อให้ทุกคนพัฒนาตนเอง 

    3. นักเผด็จการแบบใช้พระคุณ (Benevolent autocrat) ผู้นำแบบนี้จะให้ความสนใจอย่างมากกับงาน และให้ความสนใจเรื่องความสัมพันธภาพระหว่างบุคคลน้อย มุ่งประสิทธิผลของงาน และทำให้บรรลุผลได้อย่างดี โดยไม่ทำให้เกิดความขุ่นข้อง หมองใจ 

    4. ผู้รักษากฎระเบียบ (Bureaucrat) ผู้นำแบบนี้จะไม่ให้ความสนใจมากนักกับเรื่องงาน และเรื่องสัมพันธภาพระหว่างบุคคล แต่จะเน้นเรื่องกฎระเบียบ การรักษากฎระเบียบ ตลอดจน

 

        รูปแบบผู้นำที่มีประสิทธิผลต่ำ

    1. ผู้ประนีประนอม (Compromiser) ผู้นำแบบนี้ถึงแม้จะให้ความสนใจทั้งในเรื่องงานและ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล แต่จะไม่เป็นผู้นำที่กล้าตัดสินใจหรือตัดสินใจไม่ดีและอ่อนไหวต่อแรงบีบคั้นมาก 

    2. นักบุญ (Missionary) ผู้นำแบบนี้จะให้ความสำคัญกับเรื่องคนและสัมพันธภาพระหว่างบุคคล แต่ให้ความสนใจกับงานน้อยที่สุดและเมื่อมีปัญหาขัดแย้งระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วยกัน เขาจะพยายามให้ทุกคนสามัคคีปรองดองกัน โดยมีการคำนึงถึงปัญหาที่มาจากงาน 

    3. นักเผด็จการ (Autocrat) ผู้นำแบบนี้จะให้ความสนใจกับงานมากที่สุด แต่ให้ความสนใจกับเรื่องความสัพนธภาพระหว่างบุคคลน้อยที่สุด ไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในงาน แต่จะสั่งการให้ทำตามความคิดของตนเสมอ และไม่สนใจที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคล 

    4. ผู้ทิ้งงาน (Deserter) ผู้นำแบบนี้จะให้ความสนใจน้อยที่สุดทั้งเรื่องงานและเรื่องสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ในสถานการณ์ที่ประสบปัญหาทั้งงานและการขัดแย้งระหว่างบุคคล เขาจะมีลักษณะเฉย ๆ ไม่เอาใจใส่เรื่องใด ๆ และไม่สนใจปัญหาของใคร

        โรนาล์  ลิพพิท (Ronald Lippitt) และราล์ฟ ไวท์(Ralph White) ได้อธิบายถึงรูปแบบภาวะผู้นำไว้ 3 ลักษณะ 

    1. ภาวะผู้นำแบบปล่อยเสรีหรือเสรีนิยม (Laissez-Faire Leadership) ภาวะการเป็นผู้นำ ชนิดนี้ผู้นำจะปล่อยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ โดยผู้นำเป็นเพียงผู้ดูแลอยู่ ห่าง ๆ ไม่ค่อยมีบทบาทอะไรมากนัก จึงมีคำเรียกผู้นำแบบนี้ว่า “ผู้นำแบบบุรุษไปรษณีย์” เพราะผู้นำมีหน้าที่เพียงส่งผ่านข่าวสารเท่านั้น จุดเน้นอยู่ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นสำคัญ จะเห็นว่าผู้นำแบบนี้ไม่ได้เป็นผู้นำการเลย ดังนั้นจึงอาจเรียกว่า เขาเป็นผู้นำจอมปลอม แต่ส่วนใหญ่ผู้ใต้บังคับบัญชาจะมีความพึงพอใจภาวะผู้นำแบบนี้สำหรับผลการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานเอง 

    2. ภาวะผู้นำแบบอัตตนิยมหรือแบบเผด็จการ (Autocratic Leadership) ภาวะการเป็นผู้นำ แบบนี้ผู้นำจะยึดตนเองเป็นสำคัญตั้งแต่การเป็นผู้ตัดสินใจ กำหนดเป้าหมาย วิธีการทำงาน การสั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา และควบคุมบังคับบัญชาอย่างใกล้ชิดด้วยตนเอง (Close Supervision) ไม่ปล่อยให้มีอิสระในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพราะเขาจะไม่มีความไว้วางใจในผู้ใต้บังคับบัญชาภายใต้ภาวะการเป็นผู้นำแบบนี้ ผู้ใต้บังคับบัญชาจะมีความไม่พอใจในผู้นำแบบนี้ และจะแสดงความก้าวร้าวตอบโต้ผู้นำหรือไม่ก็เฉยเมยเสียเลย หรือแสดงความก้าวร้าวเมื่อผู้นำไม่อยู่  

    3. ภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership) ผู้นำแบบนี้จะมีทัศนคติต่อผู้ใต้บังคับบัญชาแตกต่างจากแบบอัตตนิยม เขาจะมีความไว้เนื้อเชื่อใจในผู้ใต้บังคับบัญชา เห็น ผู้ใต้บังคับบัญชามีความรู้ความสามารถ ดังนั้นเขาจะเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วม (Participation) ในการตัดสินใจ กำหนดนโยบายรวมตลอดถึงวิธีการปฏิบัติงาน โดยตัวผู้นำเองก็มี ส่วนร่วมอย่างเต็มที่เช่นกัน ดังนั้นจุดเน้นของผู้นำแบบนี้จึงอยู่ที่ทั้งตัวผู้นำและผู้ปฏิบัติงานทั้งหลาย หรือรวมเรียกว่ากลุ่มนั่นเอง ภายใต้ภาวการณ์เป็นผู้นำแบบนี้ สมาชิกในกลุ่มจะมีความพึงพอใจสูง 

        ซึ่งกล่าวได้ว่า ผู้นำที่ดีต้องใช้ภาวะผู้นำที่เหมาะสมกับผู้ตามละสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนั้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ 

        คุณสมบัติของผู้นำที่ดี  

        ผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ 

        1. มีความรู้(Knowledge)  

        2. มีความคิดริเริ่ม(Initiative) 

        3. มีความกล้าหาญและความเด็ดขาด(Courage and firmness) 

        4. การมีมนุษยสัมพันธ์(Human relation) 

        5. มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต(Fairness and Honesty) 

        6. มีความอดทน(Patience) 

        7. มีความตื่นตัว(Alertness) 

        8. มีความภักดี(Loyalty) 

        9. มีความสงบเสงี่ยมไม่ถือตัว(Modesty) 

        คุณสมบัติที่ดีที่ผู้นำควรจะมี 

        1. มีความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จ 

        2. มีการกำหนดลำดับความสำคัญที่เหมาะสม

        3. มีการตั้งและคาดหวังในมาตรฐานที่สูง 

        4. มีการเข้มงวดและยุติธรรม 

        5. การให้ความสำคัญและโอกาสและสิ่งที่เป็นไปได้ 

        6. พัฒนาและรักษาระดับเร่งด่วน 

        7. การให้ความสนใจในรายละเอียด 

        8. การยอมรับต่อความผิดพลาด 

        9. การเข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องที่สำคัญ 

        10. สนุกกับงาน 

            มีผลการวิจัยต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานสำหรับการพิจารณาคุณลักษณะที่สำคัญ ๆ ที่มีผลกระทบต่อภาวะผู้นำ เช่น ผลงานของ เชลเลย์ เคิร์คแพทริค และ เอ็ดวิน ล๊อค (Shelley Kirkpatrick and Edwin Lock cited by Schermerhorn, 2002 : 343) ได้ประมวลผลการวิจัยจากอดีตจนถึงปัจจุบันและสรุปคุณลักษณะเด่นที่มักจะพบในบรรดาผู้นำที่ประสบความสำเร็จมีคุณลักษณะสำคัญดังนี้

        1. มีพลัง (Drive) ผู้นำที่ประสบความสำเร็จเป็นผู้ที่มีพลังสูงแสดงความคิดริเริ่มและมีความมุ่งมั่นไม่ปล่อยอะไรให้หลุดมือหรือล้มเลิกไปง่าย ๆ 

        2. มีความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-confidence) ผู้นำที่ประสบความสำเร็จเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นไว้วางใจในตนเองและมั่นใจในขีดความสามารถของตนเองอยู่เสมอ 

        3. มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ผู้นำที่ประสบความสำเร็จเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์และมักจะคิดใหม่ทำใหม่เป็นคนแรกไม่ลอกเลียนแบบใคร 

        4. มีความสามารถในการคิด (Cognitive ability) ผู้นำที่ประสบความสำเร็จเป็นคนที่มี สติปัญญาในการเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศมาประมวลและตีความหมายเพื่อนำไปใช้ให้เป็น ประโยชน์ 

        5. มีความรอบรู้ทางธุรกิจ (Business knowledge) ผู้นำที่ประสบความสำเร็จในองค์การธุรกิจเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจและมีความรู้พื้นฐานทางเทคนิคเกี่ยวกับธุรกิจอุตสาหกรรมของตนเอง 

        6. มีความสามารถในการจูงใจ (Motivation) ผู้นำที่ประสบความสำเร็จเป็นผู้ที่มีความสามารถในการจูงใจให้คนเกิดแรงบันดาลใจในการพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน 

        7. มีความยืดหยุ่น (Flexibility) ผู้นำที่ประสบความสำเร็จ สามารถปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของผู้ตามและประสิ่งอื่นให้เหมาะสมกับความจำเป็นของสถานการณ์ 

        8. มีความซื่อสัตย์และจริงใจ (Honesty and integrity) ผู้นำที่ประสบความสำเร็จเป็นคนที่ผู้อื่นไว้เนื้อเชื่อใจได้เพราะเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์สุจริตสามารถทำนายพฤติกรรมไว้ล่วงหน้าได้ และเป็นคนที่พึ่งพาของคนอื่นได้    

            คุณลักษณะเหล่านี้จะช่วยให้ผู้นำประสบความสำเร็จในการบริหาร แต่ในระยะหลังการวิจัย พบว่าคุณลักษณะเหล่านี้ก็มีอยู่ในตัวของสมาชิกกลุ่ม ทำให้มีความเชื่อว่าคุณลักษณะเด่นของผู้นำมีส่วนเฉลี่ยไม่ต่างจากสมาชิกคนอื่น ๆ ไม่มากนัก จึงมีความสงสัยว่าคุณลักษณะต่าง ๆ ของผู้นำที่ค้นพบอาจจะเป็นผลของการเป็นผู้นำมิใช่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเป็นผู้นำก็ได้ 

            อย่างไรก็ตามผลงานวิจัยในปัจจุบันยังให้ความสำคัญต่อคุณลักษณะที่สำคัญของผู้นำที่ประสบความสำเร็จ เช่น มีการศึกษาพบว่าผู้ตามต้องการผู้นำที่มีคุณลักษณะสำคัญ 5 ประการ Schermerhorn, 2002 : 342) ได้แก่ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีสมรรถนะ เป็นผู้ที่มองไปข้างหน้ามีความสามารถในการสร้างแรงดลใจ และมีความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ยังมองว่าภาวะผู้นำที่มี ประสิทธิผลควรเป็นผู้ที่สามารถสร้างวิสัยทัศน์ และมอบอำนาจการตัดสินใจแก่พนักงานที่ไม่ใช่ ระดับผู้บริหาร

 

            ผู้ตาม (Followers) และภาวะผู้ตาม (Followship) 

   

            ผู้ตาม  หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานในองค์การที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องรับคำสั่ง จากผู้บังคับบัญชามาปฏิบัติให้สำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ 

            แบบของภาวะผู้ตาม เคลลี่ (Kelley) ได้แบ่งประเภทของผู้ตามโดยใช้เกณฑ์ 2 มิติ  ดังนี้ 

            มิติที่ 1 คุณลักษณะของผู้ตามระหว่างความอิสระ (การพึ่งพาตนเอง) และความคิด สังสรรค์ ไม่อิสระ (พึ่งพาผู้อื่น) และขาดความคิดสร้างสรรค์ พฤติกรรมของผู้ที่มีความเป็น อิสระ และความคิดสร้างสรรค์จะมีลักษณะเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่ม และเสนอวิธีการใหม่อยู่เสมอ ส่วนบุคคลที่มีลักษณะพึ่งพาผู้อื่นจะขาดความคิดริเริ่ม และคอยรับคำสั่งจากผู้นำโดยขาดการ   ไตรตรอง   

            มิติที่ 2  คุณลักษณะของผู้ตามระหว่าง “ความกระตือรือร้น กับความเฉื่อยชา"

 

            คุณลักษณะพฤติกรรมของผู้ตาม 5 แบบมีดังนี้ 

            1) ผู้ตามแบบห่างเหิน  ผู้ตามแบบนี้เป็นคนเฉื่อยชาแต่มีความเป็นอิสระและมีความคิดสร้างสรรค์สูง ผู้ตามแบบห่างเหินส่วนมากเป็นผู้ตามที่มีประสิทธิผล มีประสบการณ์ และผ่าน อุปสรรคมาก่อน 

            2) ผู้ตามแบบปรับตาม ผู้ตามแบบนี้ เรียกว่า ผู้ตามแบบครับผม เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น ในการทำงาน แต่ขาดความคิดสร้างสรรค์ 

            3) ผู้ตามแบบเอาตัวรอด ผู้ตามแบบนี้จะเลือกใช้ลักษณะผู้ตามแบบใดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่จะเอื้อประโยชน์กับตัวเองให้มากที่สุดและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด 

            4) ผู้ตามแบบเฉื่อยชา ผู้ตามแบบนี้ชอบพึ่งพาผู้อื่นขาดความอิสระ ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 

            5) ผู้ตามแบบมีประสิทธิผล ผู้ตามแบบนี้เป็นผู้ที่ทีความตั้งใจในการปฏิบัติงานสูงมี ความสามารถในการบริหารจัดการงานได้ด้วยตนเอง

 

            ลักษณะผู้ตามที่มีประสิทธิผล  ดังนี้ 

            1. มีความสามรถในการบริหารจัดการตนเองได้ดี  

            2. มีความผูกพันต่อองค์การต่อวัตถุประสงค์ 

            3. ทำงานเต็มศักยภาพ และสุดความสามารถ 

            4. มีความกล้าหาญ ซื่อสัตย์ และน่าเชื่อถือ   

 

            การพัฒนาศักยภาพตนเองของผู้ตาม 

            การพัฒนาลักษณะนิสัยตนเองให้เป็นคนที่มีประสิทธิผลสูงมี 7 ประการคือ 

            1. ต้องมีนิสัยเชิงรุก หมายถึงไม่ต้องรอให้นายสั่ง 

            2. เริ่มต้นจากส่วนลึกในจิตใจ  

            3. ลงมือทำสิ่งแรกก่อน  

            4. คิดแบบชนะทั้งสองฝ่าย   

            5. เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา 

            6. การรวม หรือ ทำงานเป็นทีม  

            7. ลับเลื่อยให้คม คือพัฒนาตนเองอยู่เสมอ แนวทางส่งเสริมและพัฒนาผู้ตามให้มีคุณลักษณะผู้ตามที่มีวัตถุประสงค์ 

            8. การดูแลเอาใจใส่ เรื่องความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ให้กับบุคลากรเป็นธรรม 

            9. การจูงใจด้วยการให้รางวัลคำชมเชย 

            10. การให้ความรู้และพัฒนาความคิดโดยการจัดโครงการฝึกอบรมสัมมนาและศึกษาดูงาน 

            11. ผู้นำต้องปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่าง 

            12. มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง 

            13. ควรนำหลักการประเมินผลงานที่เน้นผลสัมฤทธิ์มาพิจารณาความดีความชอบ 

            14. ส่งเสริมการนำพุทธศาสนามาใช้ในการทำงาน  

            15. การส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ตามนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง    

Visitors: 993,581