หลักสูตร BBS การปลูกฝังพฤติกรรมความปลอดภัย

หลักสูตร BBS การปลูกฝังพฤติกรรมความปลอดภัย

เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพในสายการผลิต
ทำอุบัติเหตุให้เป็น " ศูนย์" ด้วยวิธี BBS
Behavior Based Safety
หลักสูตร การปลูกฝังพฤติกรรมความปลอดภัย

จุดเริ่มต้น... ของอุบัติเหตุในการทำงาน... HUMAN ERROR !!! จะต้องแก้ไขอย่างไร? โดยเฉพาะพฤติกรรมการทำงานที่... เสี่ยง 
ไม่ปลอดภัยของพนักงาน เช่น รีบร้อน เคยชิน อ่อนเพลีย อารมณ์เสีย ตามองไม่เห็น ใจไม่จดจ่อ เสียการทรงตัว อันเป็นเหตุ 
ของการผิดพลาด และเกิดการสูญเสียในการทำงานทั้งสิ้น 
สร้าง... จุดแข็งของทีมงาน จุดแข็งของสายการผลิต จุดแข็งขององค์กร คือการปฏิบัติงานโดยปราศจากอุบัติเหตุ!! เพราะ..องค์กรใด? 
ที่ปลอดภัยจากอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการแข่งขันเหนือกว่าคู่แข่ง !! 
อุบัติเหตุต่างๆ...การเสียชีวิต...ทุพพลภาพ นั้น ท่านรู้หรือไม่? ว่า นอกจากสร้างความเสียหายให้กับตัวพนักงาน 
และองค์กร แล้วยัง...บั่นทอนความรู้สึก จิตใจ สุขภาพของคนงาน ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง เพราะฉะนั้น...ควรป้องกันตั้งแต่ต้นเหตุ!! 
คุณรู้หรือไม่ว่า...มีอันตรายอะไร? ซ่อนเร้นอยู่ในการปฏิบัติงานบ้าง ? 
พูดให้เขาได้คิด .... ดีกว่า สั่งให้เขาทำ ..... 
การให้พนักงานได้คิดเอง ย่อมดีกว่าที่เราไปบอกทั้งหมด .... 
รู้จักฟัง อธิบาย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่ยอมรับได้ของทั้งสองฝ่าย 
สร้างจิตสำนึก...สร้างพฤติกรรมในด้านความปลอดภัยร่วมกันกับพนักงานภายในองค์กรได้อย่างไร? 
หลักการ 
การปลูกฝังพฤติกรรมความปลอดภัย, Behavior-based safety (BBS) เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่เป็นที่ยอมรับ 
อย่างกว้างขวางว่าสามารถลดการเกิดอุบัติเหตุ การได้รับบาดเจ็บได้จริง และช่วยส่งผลต่อการสร้างวัฒนธรรม 
ความปลอดภัยในองค์กร เมื่อพนักงานทุกคนเข้าใจหลักการและนําไป BBS ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง 
BBS อาศัยหลักการทางจิตวิทยา และวิทยาศาสตร์ในการส่งเสริมพฤติกรรมที่นําไปสู่ความปลอดภัย แต่ 
น่าเสียดายที่หลายองค์กรไม่ได้นํามาใช้อย่างต่อเนื่อง และไมได้เพิ่มพูนประสิทธิภาพให้มัน หรือไม่ได้ทําให้มัน 
ยั่งยืน หรือได้ยินมาว่า BBS ไม่เหมาะกับพฤติกรรมของคนในประเทศของเรา ซึงถ้าเรามีความเชื่อเช่นนี้ แล้วเราก็ 
ไม่มีทางที่จะทําให้มันประสบความสําเร็จได้เลย ดังนั้นการทําให้ BBS ประสบความสําเร็จผู้ที่รับผิดชอบจำเป็น 
ต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน และต้องเชือว่าทําได้ และพยายามทําอย่างต่อเนื่องไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย 
ความไม่ย่อท้อย่อมนํามาสู่ความสําเร็จในลดอุบัติเหตุในองค์กร 
ดังนั้นหลักสูตรนี้จึงออกแบบมาเพื่อให้เกิดความเข้าใจเรื่อง BBS อย่างถ่องแท้ รวมถึงเหตุและผล 
กระบวนการนําไปใช้ และการแก้ปัญหา พร้อมการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่า BBS ไม่ใช่เพียงแค่การทํา 
การสังเกต (observation) เท่านั้น 
วัตถุประสงค์ 
1. เพื่อให้ทราบถึงหลักการของ BBS ความสําคัญ และการนําไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ 
2. เพื่อให้ทราบเทคนิคในการสื่อสาร การจูงใจ ให้เกิดพฤติกรรมความปลอดภัย 
3. เพื่อให้ทราบเทคนิคการสังเกตอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันการเกิดพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยซ้า 
4. เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย ที/เกิดจากทัศนคติความปลอดภัย และจิตสํานึกที่ดีของสมาชิกใน 
องค์กร อันเป็นหัวใจหลักของการวางรากฐานของพฤติกรรมความปลอดภัย 


หัวข้อบรรยาย
-  หลักในการทำให้อุบัติเหตุเป็น ศูนย์ ZERO ACCIDENT 
-  องค์กรทุกๆองค์กร คาดหวังอะไรจากการทำงานของพนักงาน 
-  5 W 1 H 
-  แนวคิดเดิมความปลอดภัยให้ความสำคัญกว่าส่วนอื่นๆ .... 
-  ความแตกต่างและความหมายของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน 
        -  INCIDENT อุบัติการณ์ 
        -  ACCIDENT อุบัติเหตุ 
        -  NEAR MISS เหตุการณ์ที่เกือบจะเกิดอุบัติเหตุ 
- ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเกิดอุบัติเหตุ 
- ความสูญเสียทางตรง 
- คามสูญเสียทางออ้อม 
 
-  BBS คือ อะไร, ทําไมต้อง BBS, พฤติกรรมทีไม่ปลอดภัยเกิดขึ้นได้อย่างไร 
-  การสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย (C.O.A.C.H process ) 
-  เทคนิคการสื่อสาร และจูงใจ (Communication and motivation)  เน้น Work shop ทำได้จริง วัดผลได้
-  จิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงาน ( Behavior Based Safety : BBS )

-  แนวคิดเดิมความปลอดภัยให้ความสำคัญกว่าส่วนอื่นๆ .... 

-  พูดให้คิดก่อน ดีกว่าบอกให้เขาทำ.... 

-  ABC Model เพื่อการวิเคราะห์พฤติกรรม ตามแนวทาง BBS 
-  เทคนิคการสังเกต (BBSO Process) และควบคุมพฤติกรรมไม่ปลอดภัย และการแก้ปัญหา 
-  การริเริ่ม (BBS initiative) และนํา BBS ไปใช้และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

-  ตัวอย่างโรงงานที่ทำ โครงการ BBS ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว มาให้ดูและศึกษากันก่อนทำจริง 
-  Work Shop : กิจกรรมย่อยนำพฤติกรรมเสี่ยงอันตรายในบริษัทของท่านมาทำกัน  แบ่งกลุ่มตามแผนกหรือลักษณะงาน

        1.  ค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงอันตรายของเแผนก

         2.  คัดเลือกพฤติกรรมเสี่ยงอันตราย 

          3. กำหนดเป้าหมายพฤติกรรมเสี่ยง และพฤติกรรมปลอดภัย

          4.  กระบวนการสังเกตพฤติกรรม การสื่อสาร  ให้คำแนะนำ  

          5.  วัดผลการสังเกตพฤติกรรมปลอดภัย ถ้ายังพบพฤติกรรมเสี่ยง  หาข้อบกพร่อง สิ่งที่ยังไม่ได้แนะนำ  ซึ่งวัดผลครั้งต่อไปจะต้องมีมาตรการเพิ่มขึ้น ทุกสัปดาห์

           6.  วัดผลสรุปผลการดำเนินงานในแต่ละเดือน  ทำเป็นรายงาน จนครบระยะเวลาที่ตั้งเป้าหมาย 

            7. สรุปโครงการ BBS

 

 

เน้น  Work shop    ทำโครงการ BBS  ได้ เข้าใจง่าย ทำได้จริง  โดยวัดผลการดำเนินงาน  BBS กี่เปอร์เซ็นต์ ได้ทุกสัปดาห์ และสัปดาห์ไหนไม่ได้ตามเป้าหมาย เราสามารถทราบว่าพนักงานคนไหนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อที่จะได้พูดคุย แนะนำ อธิบายถึงการกระทำที่ไม่ปลอดภัย ให้ปรับเปลี่ยนเป็นพฤติกรรมปลอดภัยได้ 

 

 สิ่งที่ผู้เข้ารับการสัมมนาจะได้รับ
- เพื่อให้เข้าใจแนวคิดของการสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย
- เพื่อให้เห็นความสำคัญของสื่อสาร เพื่อนช่วยเพื่อน
- เพื่อให้เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย ที่เกิดจากทัศนคติความปลอดภัย และจิตสำนึกที่ดีของพนักงานทุกคนในองค์กร

ผู้เข้าอบรม   ผู้บริหาร  ผจก. หน.แผนก หน.งาน  วิศวกร / จนท. และพนักงานทุกหน่วยงาน

 

ระยะเวลาอบรม   1 วัน ( 09.00 น - 16.00 น. )

 

 ผมมุ่งมั่น ตั้งใจ ทำหลักสูตรนี้ อยากให้ทุกคนเข้าใจและทำได้จริง แบบง่าย ๆ และได้ผล ลดอุบัติเหตุ สร้างพฤติกรรมความปลอดภัย มี Safety Mind...

ผมนำวิชาการที่ได้เรียนรู้ มาปรับ ประยุกต์ใช้ในการทำหลักสูตร จากท่านอาจารย์ทั้งสอง(อ .ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย  และนาย วีรพัฒน์ เปล่งศรีสกุล )พร้อมนำตัวอย่างการทำจริง และเห็นผลมาแล้ว  ต้องขอบคุณเพื่อน จป ที่ให้คำแนะนำมาด้วย ซึ่งอบรมเสร็จแล้ว สามารถติดต่อ ขอคำแนะนำ ปรึกษาได้  เพื่อสร้างพฤติกรรมให้ปลอดภัย..แบบยั่งยืน จนเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร.....

 

ย้ำอีกครั้ง มีตัวอย่างวิธีการทำ BBS ได้จริง.. เข้าใจง่าย ทำได้จริง  เหมาะกับ..สำหรับอุตสาหกรรมโรงงาน  ที่มุ่งมั่น สร้างเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัย.... แบบยั่งยืน

 

Visitors: 993,586