แผนตอบโต้ภาวะฉุนเฉินด้านสารเคมีอันตราย

6. แผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินจากสารเคมี

6.1 การตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน Emergency Planning
          แผนป้องกันภาวะฉุกเฉินจากสารเคมี เพื่อแก้ไขเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ควรมีสัญญาณเตือนภัยกรณีเกิดเพลิงไหม้ หรือระเบิด ต้องรีบช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันที กั้นระยะทางออกถึงตำแหน่งความปลอดภัย ดูทิศทางลมและพยายามดับเพลิง        - วิธีปฏิบัติเมื่อเกิดการหกหรือรั่วไหลของสารเคมีขึ้นอยู่กับ         - ชนิดหรือประเภทของสารอันตราย         - ลักษณะการรั่วไหลเป็นการรั่วไหลจากภาชนะประเภทใดเช่นถังเก็บขนาดใหญ่หีบห่อ ท่อส่งเป็นต้นทำการประเมินสถานการณ์ว่ามีอันตรายมากน้อยเพียงใด กำหนดแผนในการอพยพคน ไปในที่ปลอดภัย ดังนั้นจะต้องมีการกำหนดเขตขึ้นมาคือ

ก. บริเวณอันตราย(restricted zone หรือ hot zone หรือ red zone หรือ exclusion zone) เป็นบริเวณรอบที่เกิดเหตุ ผู้ที่จะเข้าไปปฏิบัติหน้าที่จะต้องผ่านการอบรมและสวมใส่ชุดระดับ A และการเข้าไปปฏิบัติหน้าที่จะต้องเข้าไปเป็นคู่โดยมีอุปกรณ์ตรวจวัดไอระเหยของสารพิษ 


                                 
  ข.บริเวณจำกัด (limited zone หรือ warm zone หรือ yello zone) บริเวณที่มีอันตรายน้อยลง อยู่ถัดออกมา
ค.บริเวณสนับสนุน (support zone หรือ cold zone) เป็นเขตที่กำหนดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน และเป็นบริเวณที่ทำกำจัดการปนเปื้อน (decontamination)


รูป 6.2การปฏิบัติงานในเขตอันตราย

รูป 6.3การกำจักการปนเปื้อน
ผู้เข้าไปปฏิบัติงานจะต้องสวมใส่ชุดป้องกัน ซึ่งแบ่งป็น4 ระดับ ดังแสดงในรูป 6.4                   ระดับ A เป็นชุดป้องกันสูงสุด ทั้งระบบหายใจ ผิวหนัง ตา ถุงมือกันสารเคมี รองเท้าหัวเหล็กกันสารเคมี ชุดกันสารเคมีที่สวมทั้งตัว เรียก vapol tight sutitและอุปกรณ์ในการหายใจ (self contain breathing) ใช้สำหรับการเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในเขตอันตรายในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินระดับ B เป็นชุดที่ประกอบด้วยอุปกรณ์หายใจเหมือนระดับ A ใช้สวมใส่ในการกำจัดการปนเปื้อน และช่วยสนับสนุนในการปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินระดับ C ประกอบด้วยหน้ากาก ชุดกันสารเคมี ถุงมือ และหน้ากากพร้อมท่อหายใจใช้ปฏิบัติงานบริเวณที่มีไอสารพิษระดับ D เป็นชุดปฏิบัติงานทั่วไป เรียกว่า jump suit


รูป 6.4ชุดปฏิบัติงาน 4 ระดับ
6.2 การช่วยเหลิอผู้ประสบภัย (victim handing procedur)เมื่อพบว่ามีผู้ประสบภัย ให้รีบช่วยเหลือออกจากบริเวณ ตรวจดูว่ามีการหายใจหรือไม่ และช่วยเหลือโดยใส่เครื่องช่วยหายใจ อย่าใช่วิธีด้วยปากเพราะจะทำใหห้ได้รับอันตราย ช่วยฝายปอดหรือกระตุ้นให้หายใจ ถ้ามีอาการช็อกจะต้องให้น้ำเกลือกำจัดการปนเปื้อนที่ร่างกาย โดยถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนออกรวมทั้งรองเท้า นาฬิกา เครื่องประดับ และล้างมือด้วยน้ำปริมาณมากๆ เสื้อผ้าและสิ่งของปนเปื้อนจะเก็บใส่ถุงพอลิโพพิลีนเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป   ถ้ากรณีผู้ประสบภัยบาดเจ็บมากต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล


รูป 6.5 เครื่องช่วยหายใจเพื่อช่วยเหลือผู้ปรระสบภัย
6.3 การกำจัดการปนเปื้อน (decontamination)การกำจัดการปนเปื้อน ขั้นแรกคือนำบุคคล เสื้อผ้า อุปกรณ์ และสารเคมีออกจากบริเวณที่เกิดเหตุ จากนั้นกำจัดซึ่งมีหลายวิธี6.3.1 การกำจัดทางกายภาพ (physical removal) ใช้วิธีล้าง เช็ด ถู โดยใช้น้ำเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งน้ำจะช่วยลดความเข้มข้น สำหรับสารที่มีลักษณะเหนียว พวกกาว จะใช้วิธีการทำให้เป็นของแข็ง (solidification) หรือ การแช่เย็น (freezing)ของเหลวใช้วัสดุดูดซับ และวางวัสดุซับล้อมรอบบริเวณป้องกันการแพร่กระจาย สารดูดซับ (adsorbent) ที่ใช้ทั่วไป เช่น ผงถ่านกัมมันต์ (activated charcoal) ซึ่งสามารถดูดซับได้ทั้งสารอินทรีย์ และไอระเหยของสารได้ ถ้ามีไฟลุกเหนือของเหลวให้ดับไฟก่อน ถ้าเป็นเพลิงไหม้จากของเหลวไวไฟ ให้ใช้เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีพ้นไปที่ไฟโดยตรง
6.3.2 การใช้สารเคมีเพื่อลดอันตราย (chemical inactivation) การเลือกสารเคมีในการกำจัดจะขึ้นอยู่กับชนิดและอันตรายของสารเคมี โดยทั่วไปนิยมใช้( sodiam hypochlorite sodiam hydroxide sodiam carbonate calcium oxide )หรือใช้ผงซักฟอกสรุปเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน อันดับแรก ต้องสำรวจบริเวณที่เกิดเหตุและกำหนดบริเวณอย่างเร่งด่วน สวมใส่ชุดอุปกรณ์ให้เหมาะสมและเตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย สำรวจการรั่วไหล และหาทางป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม6.4 แนวปฏิบัติในการจัดการความปลอดภัยในการทำงานความปลอดภัยในการทำงานเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงควรมีการวางแผนเพื่อทำการสำรวจสถานที่ทำงานให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ ปรับปรุงวิธีการป้องกันอุบัติเหตุผู้บริหารควรวางระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอย่างปลอดภัย สร้างนิสัย วินัย ในเรื่องความสะอาดและเป็ระเบียบ จัดให้มีการซ้อมแผนป้องกันอย่างสม่ำเสมอ จัดหาอุปกรณ์เครื่องมือเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน วางระบบป้องกันอัคคีภัยพนักงานทุกคนต้องสำนึกถึงความปลอดภัย ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับในการ การทำงานอย่างปลอดภัยอยู่เสมอ ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยและแต่งกายให้รัดกุมเหมาะสม

ขอบคุณครับ

ที่มาข้อมูล 

เขียนโดย Kritchapol arsapakdee  

Visitors: 995,201