โรคปวดหลังและท่าทางการทำงานที่เหมาะสม

 โรคปวดหลังและท่าทางการทำงานที่เหมาะสม
โรคปวดหลังจากการทำงาน : เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปและผู้ใช้แรงงานทั่วไปโดยเฉพาะการปวดหลังและบริเวณเอว

สาเหตุของการปวดหลัง  
   1.เกิดจากความผิดปกติของร่างกายเช่นพิการมาตั้งแต่กำเนิดประสบอุบัติเหตุ
   2.อริยาบทหรือท่าทางการที่ไม่ถูกต้องโดยเฉพาะการทำงานเช่น การนั่ง การยืน การเดิน หรือการยกของ
   3.สภาพร่างกายอ่อนแอหรือเจ็บป่วยเช่น ผู้ป่วยโรคไต ผู้สูงอายุ  สตรีก่อนมีรอบเดือน
   4.การเล่นกีฬาที่เสี่ยงต่อการปวดหลังเช่น กอล์ฟ โบว์ลิ่ง
   5.ความเครียด
   6.สภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น เครื่องจักรสภาพไม่ดี 
   7.ขาดการออกกำลังกาย

ลักษณะงานที่เสี่ยงต่อการปวดหลัง
    
-  งานยก เคลื่อนย้ายวัสดุด้วยมือ
   - งานที่ต้องโก้งโค้งบิดเอวหรือเอื้อม
   - งานที่ต้องยืน  นั่งโดยไม่พิงหลังเป็นเวลานานๆ
   - งานที่มีความสั่นสะเทือนเช่นงานขับรถบรรทุก

การป้องกันการปวดหลัง
   - ออกแบการทำงานและปรับปรุงสถานที่ทำงานให้เหมาะสม
   - ระวังรักษาหลังให้อยู่ในอริยาบทหรือท่าทางที่ถูกต้องเช่น การเดิน ยืน นั่ง
   - ยกของหนักให้ถูกวิธี
   - เปลี่ยนแปลงอริยาบทในการทำงานบ้างไม่อยู่ท่าเดียวนานๆ
   - ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
   - ทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่เครียด

ท่าทางสำหรับการยืนทำงาน
   - ควรมีบริเวณสำหรับเคลื่อนเท้าไปข้าง ๆ ไปข้างหน้าและถอยกลับมาได้ โดยไม่มีอะไรกีดขวางในแนวราบ
   - ร่างกายไม่ควรเอนไปข้างหน้าหรือข้างหลัง หรือถ้าจะมีการเอนควรมีได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการยกของ
   - ไม่ควรเอื้อมมือยกของหนัก สูงกว่าระดับความสูง ของไหล่ หรือระดับต่ำกว่ามือมาก ๆ ในขณะยืน
   - ไม่ควรหมุนลำตัวหรือเอียงไปด้านข้าง ตลอดเวลา
   - ไม่ควรแหงนศีรษะมากเกินไป
   - งานบางอย่างอาจต้องมีโต๊ะทำงาน การออกแบบโต๊ะทำงานให้สูงพอเหมาะก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ เช่นถ้าต้องยืนทำงาน โดยที่มือทั้งสองข้าง ต้องอยู่บนโต๊ะทำงานนั้น ความสูงที่พอเหมาะของพื้นผิวโต๊ะ ควรอยู่ต่ำกว่าระดับความสูงของข้อศอก ประมาณ 5 – 10 ซม.

ท่าทางการนั่งทำงาน
   - ศีรษะควรอยู่ในลักษณะสมดล คืออยู่กึ่งกลางบนไหล่ทั้งสองข้าง สายตาทอดอยู่ระดับราบ 
   - ไหล่ทั้งสองข้างอยู่ในลักษณะธรรมชาติ (ท่าพัก) 
   - ลำตัวอยู่ในแนวดิ่งหรือเอียงไปข้างเล็กน้อย โดยมีที่รองรับหลังในระดับที่เหมาะสม 
   - แขนส่วนล่างทั้งสอง และขาส่วนบน (ต้นขา) ควรอยู่ในระดับราบ 
   - ต้นแขนทั้งสอง และขาส่วนล่างทั้งคู่ ควรหมุนกับแนวดิ่งประมาณ 0 องศา และ 45 องศา ˆ 
   - มีบริเวณสำหรับสอดเข่าได้อย่างเหมาะสมˆควรมีที่วางเท้าอย่างเหมาะสม 
   - ไม่ควรมีการเอื้อมหรือบิดตัวโดยไม่จำเป็น 
  - การนั่งทำงานที่เป็นการอ่านหรือเขียนหนังสือนั้น จะต้องสามารถว่างแขนและข้อศอกบนโต๊ะได้อย่างสบาย เพื่อช่วยลดการเมื่อยล้าได้ เก้าอี้ปรับสูงต่ำได้ ควรจัดหาที่วางเท้าเตรียมไว้ด้วยและควรมีที่กว้างพอสำหรับให้เท้าได้เคลื่อนไหว 

ท่าทางสำหรับยกของ 
การยกของที่ปลอดภัยมีหลักขั้นตอนดังนี้ 
   1) การวางตำแหน่งของเท้าให้ถูกต้อง โดยการวางเท้าข้างหนึ่งให้ชิดกับของที่จะยก ซึ่งเท้าข้างนี้จะทำหน้าที่เสมือนนำทิศทางในการเคลื่อนที่ไป ส่วนเท้าอีกข้างอยู่ข้างหลังนั้น และทำหน้าที่ช่วยในการทรงตัวขณะยก 
    2) หลังตรง ย่อตัวลงพร้อมกับงอเข่า และโน้มตัวไปข้างหน้าของแล้วรักษาหลังให้ยืนตรงเมื่อยกของ (น้ำหนัก) ขึ้นจากพื้น ส่วนที่เคลื่อนไหวคือสะโพก เมื่อยืดตัวขึ้นจะทำให้ความโค้งของกระดูกสันหลังอยู่ในสภาพปกติ หรือหลังตรงอยู่ในแนวดิ่ง 
   3) แขนชิดลำตัว ขณะที่ยกหรือเคลื่อนย้ายน้ำหนักให้แขนชิดลำตัวมากที่สุดและถ้าหากเป้นไปได้แขนตรงด้วยเพราะการงอข้อศอกและยกหังไหล่โดยไม่จำเป็นทำให้เกดความเครียดของกล้ามเนื้อแขนท่อนบนและอก 
   4) ก้มคางลง การยกศีรษะตอนบนขึ้น และหดคางลงในตำแหน่งที่ทำให้กระดูกสันหลังทั้งหมดเป็นเส้นตรง ขณะยกน้ำหนักขึ้น ส่วนของอกและไหล่จะยืดขึ้นโดยอัตโนมัติ ทำให้แขนมีประสิทธิภาพสูง 
    5) ใช้น้ำหนักของร่างกาย การวางตำแหน่งเท้าที่ถูกต้องเท้าทั้งสองจะรับน้ำหนักของคน ๆ นั้นไว้ การงอเข่าและยืดหัวเข่า น้ำหนักของตัวสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อดึงหรือดันวัตถุ และการเริ่มต้นที่จะเคลื่อนไปข้างหน้า 
   6) การจับยึดในลักษณะที่ถูกต้อง การจับยึดโดยใช้ปลายนิ้วมือจะไม่มั่นคงก่อให้เกิดความเครียดที่กล้ามเนื้อและเอ็นข้อมือ ถ้าพื้นผิวเปื้อนน้ำมันหรือจาระบีการจับยึดจะไม่มั่นคง


วิธีการป้องกันการปวดหลังในการยกของ 
   - ใช้เครื่องจักรทุ่นแรงงาน 
   - ฝึกให้มีการยกและแบกของด้วยวิธีที่ถูกต้อง 
   - กำหนดน้ำหนักสูงสุดและน้ำหนักเหมาะสม ที่คนงานสามารถยกได้ 
   - ขอคำปรึกษากับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย เพื่อแนะนำวิธีการทำงานที่ถูกต้อง 

 

Visitors: 995,472